board_b_home.gif

ball_2.gif

 

 

     

                ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษาจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พุทธศักราช 2547 โดยมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ขอบเขต และแผนบริหาร

ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา ดังนี้

  • วิสัยทัศน์

               ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นศูนย์วิจัยที่เน้นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย และองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

เพื่อสร้างงานวิจัยที่มุ่งพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

  • พันธกิจ

           ดำเนินการตามโครงการวิจัยที่กำหนดไว้ โดยเน้นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย และองค์กรต่างๆ เพื่อพัฒนาระบบฝึกหัดครูคณิตศาสตร์ในโครงการผลิตครู

ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตร 5 ปี) และระดับบัณฑิตศึกษา เผยแพร่งานวิจัยโดยการนำเสนองานวิจัยในที่ประชุมทางวิชาการ และโดยการผลิตเอกสาร

สิ่งพิมพ์ และสื่อแบบผสมผสานรวมทั้งการจัดการฝึกอบรมครูประจำการ

  • ขอบเขต

           ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินงานโดยเน้นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย และองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

เพื่อสร้างงานวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับโรงเรียน ทั้งในประเทศและประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

  • แผนบริหารศูนย์วิจัย

              ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษาเน้นการบริหารงานแบบบูรณาการภายในหน่วยงาน โดยแบ่งการบริหารออกเป็น 6 ฝ่าย ดังนี้

              - Division1: A&A (Academic Affair)

                     จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาสาขาคณิตศาสตรศึกษาที่เน้นการวิจัยเป็นฐานในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนของหลักสูตร

              - Division2: R&D (Research and Development)

                       ร่วมมือกับศูนย์ CRICED, Japan ทำการวิจัยที่เน้นการพัฒนานวัตกรรมทางการเรียนการสอนและการพัฒนาวิชาชีพครู เช่น Open Approach                             

              และ Lesson Study Approach เพื่อกำหนดทิศทางงานวิจัยด้านคณิตศาสตรศึกษาของประเทศ จัดระบบสนับสนุนงานวิจัย และรวบรวมจัดระบบฐานข้อมูลงานวิจัย

               - Division3: PDN (Professional Development and Networking)

                         ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างครูในโรงเรียนกับอาจารย์มหาวิทยาลัยในการทำวิจัยในชั้นเรียนจัดประชุมสัมมนา                           

               เพื่อพัฒนาศักยภาพของครูประจำการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

                - Division4: TPI (Technology and Publication for Information)

                            ผลิตเอกสารและงานแปลทางด้านคณิตศาสตรศึกษา รวมทั้งจัดระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการวิจัย และเผยแพร่ผลงานวิจัย

                - Division5: IRC (International and Regional Cooperation)

                            ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและองค์กรในประเทศต่างๆ เพื่อสนับสนุนการวิจัยทางด้านการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

                และนักวิจัยของประเทศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

                  - Division6: EMO (Executive and Managerial Office)

                               ติดต่อประสานงานและบริหารจัดการงานบุคคลากร การเงิน วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ของศูนย์ให้การสนับสนุนการดำเนินงาน

                   ของหน่วยงานทุกหน่วยงานในศูนย์