หลักการและแนวทางการดำเนินงาน

        จากวัตถุประสงค์ของ “โครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring&rdquo" ที่มุ่งพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามสมรรถนะให้เป็นครูดีครูเก่งมีคุณภาพเน้นพัฒนาวิชาชีพครูโดยอาศัยโรงเรียนทั้งระบบเป็นฐาน และเน้นกระบวนการด้าน Literacy, Numeracy และ Reasoning Ability เพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพนั้นมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคณะศึกษาศาสตร์ในฐานะที่ปรึกษาในการดำเนิน
โครงการของ

  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 2
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25

        ได้จัดให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนตามแนวทางของนวัตกรรมการศึกษา
ชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ซึ่งเป็นนวัตกรรมสำหรับการพัฒนาวิชาชีพครูและ
พัฒนาการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ริเริ่มนำนวัตกรรมดังกล่าวจากประเทศญี่ปุ่นมาใช้และพัฒนาใน
ประเทศไทยมากว่า 10 ปี

แนวทางการดำเนินโครงการ

        จากสภาพปัญหาโดยพื้นฐานของชั้นเรียนคณิตศาสตร์ของไทยที่มีลักษณะเป็นชั้นเรียนที่ไม่ได้เปิดกว้างสำหรับกระบวนการเรียนรู้หรือ การคิดทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำนวัตกรรม “วิธีการแบบเปิด (Open Approach)”  มาใช้ในการพัฒนาชั้นเรียน โดยมีแนวคิดเริ่มต้นจากการเปลี่ยน จากการใช้ปัญหาปลายปิดมาเป็นการใช้ปัญหาปลายเปิด (Open-ended Problems) เพื่อสร้างกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Activity) ในชั้นเรียน ทั้งนี้กระบวนการสร้างกิจกรรมทางคณิตศาสตร์นี้ได้ดำเนินการภายใต้ นวัตกรรม “การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study)” ที่เน้นการร่วมมือกันสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ การร่วมมือกันสังเกตชั้นเรียน และการร่วมมือกันสะท้อนผลชั้นเรียน โดยกิจกรรมดังกล่าวนี้เป็นการ ร่วมมือกันระหว่างครู ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย  เมื่อชั้นเรียนคณิตศาสตร์ถูกเปิดสำหรับกระบวนการ แก้ปัญหาที่หลากหลายของนักเรียน จึงเป็นชั้นเรียน ที่สามารถพัฒนาไปสู่ชั้นเรียนที่เน้น การแก้ปัญหา (Problem Solving Classroom) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมมือกับ Center for Research on International Cooperation in Educational Development (CRICED) ประเทศญี่ปุ่นนำหนังสือเรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่เน้น การแก้ปัญหามาใช้ในโรงเรียนในโครงการฯ เพื่อช่วยในการสร้างปัญหาปลายเปิดและพัฒนาชั้นเรียนขอยง โรงเรียนในโครงการฯ ให้เป็นชั้นเรียนที่เน้นการแก้ปัญหาซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญที่จะทำให้เกิดการปฏิรูปกระบวนการ เรียนรู้ของครูและนักเรียนเป็น
รูปธรรมของการปฏิรูปการศึกษาของประเทศตามพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542

        นอกจากนี้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังได้นำแนวคิดเรื่องการใช้เทคโนโลยีการติดต่อ สื่อสารกันผ่านระบบอินเตอร์เน็ตแบบที่สามารถโต้ตอบกันได้ในเวลาจริง (Real Time)  มาทำการประชุมทางไกล (Video Conference) เพื่อลดข้อจำกัดเรื่องระยะทางที่ห่างไกลกันของโรงเรียนในโครงการฯ จากทุกเขตพื้นที่การศึกษา จึงทำให้การร่วมมือกันสร้างแผนการจัด การเรียนรู้ การร่วมมือกันสังเกตชั้นเรียน และการร่วมมือกันสะท้อนผล ชั้นเรียน ระหว่างโรงเรียนในโครงการฯ ตามแนวทางของ การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) ดำเนินไปได้อย่างสม่ำเสมอนับเป็นโมเดลสำหรับการพัฒนาครู โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และมหาวิทยาลัย ตามเป้าหมายและ วัตถุประสงค์ของโครงการอย่างแท้จริง