ประชุมวิชาการเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทยครั้งที่ 7
“ญี่ปุ่น – อาเซียน : บนความเคลื่อนไหว”

     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ คณบดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะอุปนายกของสมาคมญี่ปุ่นศึกษา ในประเทศไทย ร่วมจัดประชุมวิชาการเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทยครั้งที่ 7 “ญี่ปุ่น – อาเซียน : บนความเคลื่อนไหว” เนื่องในโอกาส เฉลิมฉลองครบรอบความสัมพันธ์ 40 ปี ระหว่างญี่ปุ่นกับอาเซียนในระว่างวันที่ 17-18 ตุลาคม 2556 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่นในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ที่กำลังเคลื่อนไหวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ภายในงานมีผู้เข้าร่วมนำเสนอ บทความวิชาการและเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอบทความ จำนวนมากกว่า 100 คน

     พิธีเปิดได้รับเกียรติกล่าวรายงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร วัชชวัลคุ นายกสมาคมญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย กล่าวคำกล่าวโดย 
Mr. Kazuhiro Fukuda ผู้อำนวยการเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ กล่าวต้อนรับโดย ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวต้อนรับและ เปิดการ ประชุมโดย ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวรและกล่าวแสดงความยินดีโดย H.E.Shigekazu Sato เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย

 

รายงานโดย รศ.ดร.ศิริพร วัชชวัลคุ             คำกล่าวโดย  Mr. Kazuhiro Fukuda
นายกสมาคมญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย       ผู้อำนวยการเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ

   

กล่าวต้อนรับโดยผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก, กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุมโดย
ศ. ดร.สุจินต์ จินายนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร, กล่าวแสดงความยินดีโดย H.E.Shigekazu Sato เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย

การถ่ายภาพร่วมกันของประธานในพิธีเปิดและคณะกรรมการจัดงาน

ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ คณบดี คณะศึกษาศาสตร์ ยังได้รับเชิญให้เป็นผู้วิพากษ์บทความในช่วงที่มีการนำเสนอบทความวิชาการอีกด้วย

คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ร่วมวิพากษ์บทความกับ ผศ.ดร.วิวัฒน์ มีสุวรรณ์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร
โดยมี รศ.ดร.ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

     ทั้งนี้ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ยังได้ร่วมนำเสนอบทความจำนวน 2 บทความ
 ประกอบด้วย 1) บทความเรื่องการพัฒนาวิชาชีพครูแบบญี่ปุ่น ในเขต อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง : การประชุมผ่านเครือข่าย (NetMeeting)
                    2) บทความ เรื่อง กระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยวิธีการแบบเปิดที่พัฒนาจาก Open-ended Approach ของประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ที่เข้าร่วมการประชุมในการซักถามและร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ผู้นำเสนอมากมาย

   การนำเสนอบทความเรื่อง การพัฒนาวิชาชีพครูแบบญี่ปุ่นในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง  : การประชุมผ่านเครือข่าย (NetMeeting) โดยนายกิตติศักดิ์ ใจอ่อน นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

   การนำเสนอบทความเรื่อง กระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยวิธีการแบบเปิดที่พัฒนา จาก Open-ended Approach ของประเทศญี่ปุ่นโดยนางสาวจุฬาลักษณ์ ใจอ่อน นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น