การประชุมวิชาการด้านคณิตศาสตรศึกษา ครั้งที่ 7 ในหัวข้อ “2 ทศวรรษของการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้สู่สมรรถนะการคิดขั้นสูง”
- วันที่: 26-27 มีนาคม พ.ศ. 2564
-
SDG4-การศึกษาที่เท่าเทียม SDG10-ลดความเหลื่อมล้ำ SDG17-ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในวันที่ 26-27 มีนาคม 2564 สมาคมคณิตศาสตรศึกษา จัดการประชุมวิชาการด้านคณิตศาสตรศึกษา ครั้งที่ 7 ในหัวข้อ “2 ทศวรรษของการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้สู่สมรรถนะการคิดขั้นสูง” ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สถาบันรับรองสมรรถนะทางคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย และสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งในกิจกรรมประกอบด้วย
1) กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษโดยรศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ นายกสมาคมคณิตศาสตรศึกษา รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูแห่งอาเซียน
2) การบรรยายพิเศษ เรื่อง A Practice of the University of Tsukuba under COVID-19: with the Cases of Tsukuba and Waseda University โดย Prof. Dr. Masami ISODA, Director of CRICED, University of Tsukuba, Japan และ รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน
3) การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (Oral Presentation) และแบบโปสเตอร์ พบกับผู้ทรงคุณวุฒิ
ในการวิพากษ์งานหลายท่าน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ เอื้อจิตร พัฒนจักร อาจารย์ ดร.เอนก สุดจำนงค์
ดร.อัญชลี ตนานนท์ รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์ ทองแจ่ม ดร.สมพร ช่วยอารีย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.เกียรติ แสงอรุณ
4) บรรยายหัวข้อ ความเป็นมาของการเปิดชั้นเรียน รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์
รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5) การบรรยาย เรื่อง How to Update the Our Education after COVID-19
โดย Prof. Yukata OHARA จาก Colledge of Education, College of Education, Kanto-Gakuin University, Japan และรองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน
6) สารคดีเกี่ยวกับบทบาทของผู้อำนวยการโรงเรียนในการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ: กรณีโรงเรียนคูคำพิทยาสรรพ์ จ.ขอนแก่น โรงเรียนต้นแบบนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด
7) การเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 14 จำนวน 7 ชั้นเรียน โดยครูผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาการสอนด้วยนวัตกรรมทั้งในและต่างประเทศ
ภาพกิจกรรม