การประชุมวิชาการนานาชาติด้านคณิตศาสตรศึกษา (PME44)

    วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม เวลา 13:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เกียรติกล่าวเปิดการประชุมและกล่าวต้อนรับในพิธีถ่ายทอดสดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านคณิตศาสตรศึกษา The 44th of The International Group for the Psychology of Mathematics Education (PME 44) ในรูปแบบการประชุมเสมือนจริง (Virtual Meeting)
    ด้วยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย ร่วมกับ Technion – Israel Institute of Technologyประเทศอิสราเอล ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา (Center for Research in Mathematics Education) ศูนย์ความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ (Centre of Excellence in Mathematics) สมาคมคณิตศาสตรศึกษา (Thailand Society of Mathematics Education) สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน (Institute for Research and Development in Teaching Profession for ASEAN) มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด (Educational Foundation for Development of Thinking Skills) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology) จัดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านคณิตศาสตรศึกษา The 44th of The International Group for the Psychology of Mathematics Education (PME 44) ในหัวข้อ “Mathematics Education in the 4th Industrial Revolution: Thinking Skills for the Future” ระหว่างวันที่ 19 – 22 กรกฎาคม 2564
    โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนกำหนดนโยบายที่สนใจงานทางคณิตศาสตรศึกษาจากทั่วโลก ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แบ่งปันความรู้อันจะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาเพื่อสังคมที่ดีขึ้น ในรูปแบบการประชุมเสมือนจริง (Virtual Meeting) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกิจกรรมมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การบรรยายพิเศษจาก Plenary Speaker ซึ่งเป็นนักวิชาการชื่อดังจากหลายประเทศ อาทิ Roberto Araya (Chile), David Wagner (Canada), Michal Tabach (Israel), Berinderjeet KAUR (Singapore), Hamsa Venkat (South Africa), Keith Jones (UK), Lew Hee- Chan (South Korea), Anna Baccaglini-Frank(Italy), Oi-Lam NG (Hong Kong) รวมทั้งการนำเสนอรายงานวิจัย (Research Reports), กลุ่มปฏิบัติการ (Working Groups), สัมมนา (Seminar), การอภิปรายกลุ่ม (Colloquium), การนำเสนอระดับชาติ (National Presentation), การนำเสนองานแบบบรรยาย (Oral Communications) และการนำเสนองานแบบโปสเตอร์ (Poster Presentations) โดยมีผู้เข้าร่วมงานประชุมเสมือนจริงในครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 661 คน จาก 55 ประเทศ

รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “คณิตศาสตร์มีความเกี่ยวข้องจำเป็นในชีวิตประจำวันของมนุษย์อยู่หลายด้าน การประชุมด้านคณิตศาสตรศึกษาครั้งนี้ เป็นงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อบูรณาการกิจกรรมของกระบวนการวิจัยและการสอนเพื่อแสดงความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยต่อชุมชนและสังคม และขอขอบคุณผู้เข้าร่วมการประชุม ทีมผู้จัดงานทุกภาคส่วน ที่เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้”

รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานการจัดประชุม (Conference Chair of the Local Organizing Committee for the PME 44th) กล่าวว่า “หัวข้อของการประชุมคือ “Mathematics Education in the 4th Industrial Revolution: Thinking Skills for the Future คณิตศาสตรศึกษาในการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4: ทักษะการคิดเพื่ออนาคต” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมมากสำหรับยุคนี้ ที่จะทำให้เราได้ทบทวนความสำคัญของทักษะการคิดต่างๆ ที่จำเป็นในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 แต่เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 การประชุมจะจัดขึ้นทางออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ อย่างไรก็ตาม เราขอขอบคุณสำหรับการสนับสนุนและโอกาสที่มอบให้กับเราสองครั้งเพื่อเป็นเจ้าภาพการประชุมเสมือนจริง นับเป็นความยินดีอย่างยิ่งที่เรามีโอกาสได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ PME 44 ในปีนี้ ร่วมกับ Technion – Israel Institute of Technology ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก”

อีกทั้งผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดการประชุม ได้ที่ https://pme44.kku.ac.th/home

อ้างอิง
พีรณัฐ เอี่ยมทอง. (2564). มข. ร่วมจัดประชุมวิชาการเสมือนจริงในนามประเทศไทย โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 55 ประเทศทั่วโลก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://th.kku.ac.th/69949/?fbclid=IwAR2Rc3JolUZDf-Fk34TJ4taK8LJexUi5vjiGhmHJmtinF-oK6ZY4_OqV948 (11 กรกฏาคม 2564)

ภาพกิจกรรม