APEC- KHON KAEN MEETING 2022 in Digital Era: AI for Education

APEC- KHON KAEN MEETING 2022 in Digital Era: AI for Education.

ในรูปแบบ Online และ Onsite ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.00-16.00 น. โครงการในปีนี้ได้จัดขึ้นภายใต้ Theme “APEC- Khon Kaen Meeting in Digital Era: AI for Education” โดยทิศทางของเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในปีนี้จะเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ทางการศึกษา (AI for Education) การนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา เพื่อรองรับกับยุคที่ปัญญาประดิษฐ์จะกลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ขับเคลื่อนโลก โดยในกิจกรรมจะมีการบรรยายพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิดังนี้ 1) ท่านทูตสุรพล เพชรวรา (อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น และปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน) 2) รองศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต ทิพากร (อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา) และ 3) จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) อีกทั้งยังมีกิจกรรม “การนำแนวคิด A.I. for Education ไปใช้ในภาคปฏิบัติ โดยใช้ Robot”

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า โครงการ APEC- Khon Kaen Meeting in Digital Era: AI for Education ในครั้งนี้ มีความสำคัญในหลากหลายมิติ ประกอบด้วย การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ทางการศึกษา (AI for Education) การนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา เพื่อรองรับกับยุคที่มีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ขับเคลื่อนโลก อีกทั้งยังตอบโจทย์และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของโลก ทั้งในด้านการพัฒนาทักษะการคิดของประชากรในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาทักษะการคิดที่จำเป็น ในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งได้แก่ Computational Thinking หรือ การคิดเชิงคำนวณ และ Statistical Thinking การคิดเชิงสถิติ 

ในปัจจุบัน ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI  มีความสำคัญอีกในหลายกหลายแง่ ที่เป็นความรู้พื้นฐานที่ทุกคนควรรู้ อาทิเช่น ความสำคัญในแง่ของการดูแลสุขภาพ AI for Healthcare และทางการศึกษา AI for Education ดังนั้น การจัดกิจกรรมโครงการ APEC- Khon Kaen Meeting in Digital Era: AI for Education ในครั้งนี้ จึงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิดเกี่ยวกับ AI for Education จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มากประสบการณ์ 

รศ.ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ดังที่ ในปีพ.ศ. 2548 ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในนามประเทศไทย ร่วมกับ CRICED, University of Tsukuba ในนามประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมเสนอโครงการภายใต้หัวข้อ “A collaborative study on innovations for teaching and learning mathematics in different cultures among the APEC Member Economies” และในนามประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ซึ่งโครงการนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมในกลุ่ม EDNET Forum และที่ประชุม Human Resource Development Working Group (APEC HRDWG) และที่ประชุม APEC Ministerial Meeting ตามลำดับ หลังจากนั้น ก็มีชุดโครงการต่างๆ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก เอเปคมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน

ซึ่งในปี 2549 ได้มีการนำนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) เข้าไปปรับใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในกลุ่มประเทศเอเปค อาทิเช่น Australia, Chile, China, Japan, Hong Kong, Indonesia, Korea, Malaysia, Philippines, Singapore, Thailand, USA, และ Vietnam ซึ่งถือเป็นโครงการที่มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมมากที่สุด จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ที่ได้นำนวัตกรรม Lesson Study เข้าไปในกลุ่มประเทศสมาชิก ถือได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง โดยได้รับการยอมรับในเวทีต่างๆ อาทิเช่น ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการศึกษาของกลุ่มสมาชิกเอเปค (APEC Education Ministerial Meeting) และ ที่ประชุม Annual Business Meeting of the APEC Human Resource Development Working Group เป็นต้น ว่าโครงการ APEC Project เป็นตัวอย่างของความสำเร็จ และตัวอย่างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศพัฒนา เช่น ญี่ปุ่น และ ประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศในกลุ่มสมาชิกเอเปค 

และในปีงบประมาณ 2564 คณะดำเนินงานโดยความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่น ไทย และมาเลเซีย    ได้วางแผนการดำเนินการโครงการ Inclusive Mathematics for Sustainability in a Digital Economy (InMside) ซึ่งเป็นโครงการที่เสนอในนามประเทศไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และ Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับ Ministry of Education ประเทศมาเลเซีย เน้นเรื่องการพัฒนาทักษะการคิดของประชากรโลกในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาทักษะการคิด ที่จำเป็นในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งได้แก่ Computational Thinking (การคิดเชิงคำนวณ) และ Statistical Thinking (การคิดเชิงสถิติ) ซึ่งเป็นยุคดิจิทัล ที่สังคมต้องอาศัยการตัดสินใจต่างๆ บนพื้นฐานของการคิดทางคณิตศาสตร์ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่อย่างมากอีกด้วย ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2564 จึงพยายามให้แต่ละประเทศได้ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการพัฒนาและสนับสนุนในเรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาการคิด และการให้ความสำคัญกับเรื่องความเท่าเทียมทางการศึกษา โดยกำหนดแผนการดำเนินงานโครงการ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1: การประชุมสัมมนา Webinar to share the Report of InMside I เพื่อแลกเปลี่ยน แนวคิดการดำเนินงานสำหรับนักคณิตศาสตรศึกษาจากประเทศสมาชิกเอเปค ในโครงการ InMside I โดยเป็น การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ APEC-Tsukuba International Conference XV ในหัวข้อ Challenges to New Normal on Informatics and Statistics Education on Digital Era, Computational and Statistical Thinking for AI and Big Data จัดขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2021 โดยเป็นการจัดการประชุม แบบออนไลน์ Webinar by the Project InMside II ซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยน แนวคิด และการเตรียมพร้อมสำหรับ InMside II Seminar

ระยะที่ 2: การฝึกอบรมสัมมนากลุ่มผู้พัฒนาหลักสูตร InMside II ณ ประเทศมาเลเซีย ดำเนินการใน เดือนกันยายน 2564 เป็นระยะเวลา 4 วัน ในชั้นเรียนจริงในประเทศของตัวเอง Training

ระยะที่ 3: การประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ รวมทั้งการบรรยายเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนและเป็นการสะท้อนผลการดำเนินการของแต่ละประเทศ 

ระยะที่ 4: แต่ละประเทศพัฒนาหลักสูตร สำหรับการนำไปใช้จริงในโรงเรียนของแต่ละประเทศ

กิจกรรมในวันนี้ เป็นการดำเนินงานโครงการ ในระยะที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใต้ Theme APEC- Khon Kaen Meeting in Digital Era: AI for Education เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ทางการศึกษา (AI for Education) การนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา เพื่อรองรับกับยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ขับเคลื่อนโลก ซึ่งภายในกิจกรรม จะมีการบรรยายพิเศษที่จะชี้ให้เห็นชัดเจนว่า AI for Education การจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ในยุคปัญญาประดิษฐ์เป็นอย่างไร

ภาพกิจกรรม